วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559



การบันทึกครั้งที่ 3
วัน อังคาร ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
- สรุปการเรียนรู้เด็กปฐมวัย   
พัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 – 5 ปี
                พฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกที่โรงเรียนมีพื้นฐานมาจากพฤติกรรมที่เขาเคยปฏิบัติมาก่อนแล้ว  ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจว่าเด็กมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลต่างกันเรื่องอายุ พื้นฐานทางครอบครัว และโอกาส          เด็กวัย 4 ขวบ  เด็กวัยนี้เริ่มทำอะไรได้เอง ไม่ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วย ดังนั้นเด็กวัยนี้ส่วนมากมีความเชื่อมั่น ชอบยืนยันความคิดของตนเองและชอบคุยโต รู้จักแสดงความห่วงใยผู้อื่น ความสนใจของเด็กวัยนี้มีกว้างขวางขึ้นและสามารถทำกิจกรรมได้นานขึ้น การใช้ภาษาเริ่มมีมากขึ้น รู้จักพูดคุยกับเพื่อน ๆ รู้จักใช้ภาษาเพื่อสนองความต้องการของตนเอง และใช้ภาษาเพื่อการแสดงออก ชอบถามและต้องการคำตอบจากผู้ใหญ่        เด็กวัยนี้สามารถเล่นกับเพื่อน ๆ ได้อย่างดี ต้องการของเล่นที่เป็นของใช้จริงในชีวิตประจำวัน และชอบเล่นบทบาทสมมติ ต้องการใช้เครื่อง เครื่องใช้ เช่น ค้อน เลื่อย กรรไกร แปรง ฯลฯ และอาจบอกได้ว่า เมื่อตนทำสิ่งนี้เสร็จแล้วจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามเด็กวัยนี้จะสนใจกระบวนการ (Process) ที่ตนทำมากกว่าผลที่จะได้รับ (Product) เด็กวัยนี้ชอบเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น โดยโอ้อวด แสดงอาการไม่พอใจ ก้าวร้าวหรือส่งเสียงดังเอ็ดตะโร กล้ามเนื้อเล็กทำงานประสานได้ดีขึ้น แต่กล้ามเนื้อใหญ่จะใช้ได้คล่องและดีกว่าการใช้กล้ามเนื้อเล็ก     เด็กวัยนี้จะเริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างเรื่องจริง กับเรื่องเพ้อฝัน แต่ยังคงสับสนอยู่ เห็นได้ง่าย ๆ จากการดูโทรทัศน์ เรื่องความเก่งกล้าของซุปเปอร์แมน นินจาเต่าหรือโงกุน เด็ก ๆ วัย 4 ขวบก็ยังยืนยันว่าคนเองสามารถมีกำลังและเก่งเหมือนตัวเอกของภาพยนต์สำหรับเด็ก    
              เด็กวัย 5 ขวบ  เด็กวัยนี้มีอิสระมากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้นและเข้าใจคำสั่งมากขึ้น แต่ก็ยังต้องการการยอมรับจากผู้อื่น ชอบเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันและเพศเดียวกัน ดังนั้นการเล่นจึงมีลักษณะให้ความร่วมมือกับเพื่อน ๆ ดี เล่นได้นาน มีลักษณะค่อนข้างซับซ้อนขึ้น การใช้กล้ามเนื้อมือและการใช้สายตาประสานกันได้ดีขึ้น การบงคบส่วนลำตัวดีสามารถขว้างและรับลูกบอลได้ กระโดดเชือก วิ่งและใช้ทักษะอื่นกับผู้อื่นได้ สามารถใช้กรรไกรตัดตามที่ต้องการได้ดีขึ้นและชอบคิดสร้างประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ชอบนิทาน ชอบโรงเรียน และสามารถจำตัวเลขและตัวอักษรตามลำดับได้ ถึงแม้ว่าเด็ก 5 ขวบจะมีแนวโน้มที่จะเชื่อฟังครู ให้ความร่วมมือ มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น แต่ชอบพูดอวดโอ้ถึงความสำเร็จของตนเอง พูดเกินความจริงจนเกิดทะเลาะกัน การใช้ภาษาของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างอิสระคือ สามารถเข้าใจและพูดได้ตามที่ตนรู้สึก สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องที่แต่งขึ้นโดยอธิบายให้เหตุผลได้ เด็ก 5 ขวบยังคงชอบเล่นบาทบาทสมมติ แต่ก็มีความสนใจสิ่งที่เป็นจริงในโลกนี้
             สรุปได้ว่า เด็กวัย 4 – 5 ปี มีลักษณะที่แตกต่างกันดังที่กล่าวแล้วแต่มิได้หมายความว่าเมื่อเด็กอายุมากขึ้นอีกหนึ่งขวบจะมีลักษณะพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่การพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่แตกต่างเช่นกัน

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
       ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม  และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ
1 การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
2. การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

          ไวกอสกี้  (Vygotsky, อ้างถึงใน Smith, 1997 : 25) กล่าวว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้  พัฒนาสติปัญญาและทัศนคติเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น  โดยที่การเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นภายในการทำงานของ  Zone  of  proximal  development   ซึ่งเป็นสภาวะที่เด็กต้องเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถคิดแก้ปัญหาโดยลำพัง  แต่ถ้าได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์มาก่อน  เด็กจะสามารถแก้ปัญหานั้นและจะเกิดการเรียนรู้ได้
บรูเนอร์ (Bruner, 1969 : 85) เชื่อว่า ครูสามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

ความหมายของการจัดประสบการณ์
            การจัดประสบการณ์  หมายถึง การจัดกรศึกษาให้เด็กก่อนวัยเรียน หรือเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาให้ครบทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา  มิได้มุ่งหวังให้อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น หรือเรียนรู้เนื้อหาวิชาต่าง ๆ แต่จะเป็นการปูพื้นฐานวิชาต่าง ๆ ให้ ในรูปกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเด็กจะเรียนรู้ได้ดีกว่า เช่นการสอนให้เด็กเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อดทน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่อาจทำได้ด้วยการสอนด้วยคำพูดแต่จะเกิดจากการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เป็นรูปธรรม

หลักการจัดประสบการณ์
            หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546  ได้กำหนดหลักการจัดประสบการณ์ไว้  ดังนี้
 1.  จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง            
 2.  เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่        3.  จัดให้เด็กได้รับพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต  

แนวการจัดประสบการณ์
            หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 ได้ให้แนวทางการจัดประสบการณ์ คือ
 1.  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ คือเหมาะกับอายุ วุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ            
2.  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้คือ เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง           
3.  จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการ คือ บูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้           
4.  จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความคิดโดยผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก            
5.  จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่น มีความสุขและเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ กัน           
6.  จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสือและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก           
7.  จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ           
8. จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ให้มีมุมเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนต่าง ๆ ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นร่วมกับผู้

คำศัพท์
1.energy=พลังงาน
2.nature=ธรรมชาติ
3.the process=กระบวนการ
4.unit=หน่วย

5.Earth=โลก

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการสอน
บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกสนาน
การจัดการเรียนการสอน
เป็นไปตามเนื้อหาและหลักการ

ประเมินตนเอง
***หมายเหตุ :: ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากติดธุระ   จึงศึกษาจากเพื่อน                   
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียน       
ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพ เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น