วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7
วัน อังคาร ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
- ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือ

-เพื่อนๆนำเสนอของเล่น

-อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วให้นักศึกษาทาบมือลงบนกระดาษแล้ววาดภาพตามมือของเรา และให้วาดหยักๆๆ จะได้เหมือนภาพ 3 มิติ

-การทดลอง
 จากภาพคือการทดลองการไหลของน้ำ




-อาจารย์ให้พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมแล้วตัดเป็นรูปดอกไม้ จากนั้นให้วาดจุดลงบนตรงกลาง และให้พับจากนั้น เอาไปลอยน้ำ ดอกไม้จะค่อยๆบานออก  เกิดมาจากน้ำเข้าไปซึมซับตามพื้นที่ว่างของกระดาษทำให้กระดาษอ่อนแล้วเกิดการคลี่ออกตามที่เราได้ทดลองทำ



- ส่งงาน


ทักษะที่ได้รับ
การนำเสนอผลงานการประยุกต์ผลงานเพื่อน การคิดวิเคราะห์
การนำมาประยุกต์ใช้
นำไปใช้เป็นสื่อในการสอน และประยุกต์ในเรื่องของอากาศได้อีกด้วย
บรรยากาศในห้องเรียน
ฝนตกอากาศดี แอร์เย็นมาก
การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์

ประเมินตนเอง
ตั้งใจดูเพื่อนนำเสนอของเล่นและตั้งใจเรียน              
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆต่างคนต่างตั้งใจนำเสนอของเลานและตั้งใจเรียน        
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมอุปกรณ์การสอนได้ดีมาก พูดเพราะเสียงดัง
สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

ปริญญานิพนธ์ ของ วณิชชา  สิทธิพล
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปี 2556


ภูมิหลัง
            ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ ความชำนาญหรือความสามรถในการใช้ความคิด เพื่อ ค้นหาความรู้รวมทั้งการแก้ปัญหาซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะทางปัญญาเพราะเป็นกาทำงานของสมองในรูปแบบการคิดพื้นฐานซึ่งการจัดกิจกรรมประกอบอาหารสามารถทำให้เด็กเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจากของจริง โดยใช้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสังเกต ทดลอง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสอาหารดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจนำการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กเกิดองค์ความรู้ การคิด การวางแผน การเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 มาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการสังเกต การสัมผัสการชิม การฟัง การดมกลิ่น การเปลี่ยนแปลงของอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การจำแนกและการวัด ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป


ความมุ่งหมายของการวิจัย

             1เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
             2 เพื่อความเปรียบเทียบระดับของระดับทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม

ความสำคัญ
             การจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการสังเกต ทดลอง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมทำน้ำสมุนไพร เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร เรียนรู้การเปรียบเทียบการชั่ง ตวง วัด และได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ การเข้าใจเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย การจัดกิจกรรมทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐาานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารและโภชนาการ เรียนรู้การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
    2.1 การสังเกต
    2.2 การจำแนก
    2.3 การวัด
    2.4 การสื่อความหมายข้อมูล

สมมุติฐานการวิจัย
     เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร


ทักษะที่เด็กได้รับ
            1การสังกต
            2การวัด
            3การจำแนก
            4การสรุปข้อมูล

วิธีการสอน
ขั้นนำ
         นำเข้าสู่กิจกรรมด้วยเพลง คำคล้องจองปริศนาคำทายและสื่อต่างๆ
ขั้นสอน
        1. ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์
        2. ครูแนะนำกิจกรรมการทำน้ำฝรั่ง พร้อมวิธีการทำอย่างละเอียด
        3. ครูและเด็กร่วมกันทำน้ำฝรั่ง
        4. ครูและเด็กร่วมกันรับประทานน้ำฝรั่ง
ขั้นสรุป
        1. ครูใช้คำถามกับเด็ก
        2. ครูและเด็กร่วมกันสรุปวิธีการทำน้ำฝรั่ง

ผลการทดลอง
       หลังจากที่เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร ระดับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับดี มีการสักเกตที่ดีขึ้น สามารถจำแนก สี รูปร่าง ขนาด กลิ่น รสชาติได้ การวัดเด็กสามารถเข้าใจและตวงได้ให้เท่าขนาดที่สั่ง ด้านการสื่อความหมายเด็กมีการแลกเปลี่ยนความคิดและนำเสนอได้ดีขึ้น

อภิปรายผล
            จากการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังจากได้รับ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ.01 แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพรช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้อยู่ในระดับดีขึ้น โดย ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการทดลองทุกด้าน


สรุปบทความ
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

              วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
              การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น
             Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 ) อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้


ของเล่นวิทยาศาสตร์
เครื่องดูดจอมกวน


อุปกรณ์ (Equipment)                                                                                                                                                                               
1.หลอดกาแฟ (tube)                            2.ถุงพลาสติก (bag)                             3.ขวดน้ำ (bottle)                    
4.กรรไกร (scissors)                            5.เทปกาว (tape)                   
ขั้นตอนในการทำ (how to)   

1.เจาะฝาขวดเป็น 2 รูไม่ห่างกันมาก
2.ตัดหลอดให้เป็น 2 ท่อน และลองเสียบดูให้พอดี
3.นำหลอกกาแฟที่ตัดมา 1 อัน ติดหลอดกับถุงดังรูป และติดเทปกาวให้สนิท   

4.นำหลอดทั้ง 2 มาเสียบรูที่เจาะบนฝาขวดน้ำ ดังรูป
5.นำฝาไปปิดขวด
วิธีการเล่น                                                                                                 ดูดหลอดที่ไม่ได้ติดกับถุงพลาสติก จะทำให้ถุงพลาสติกพอง  แต่เมื่อเป่าหลอดอันเดิมถุงพลาสติกจะแฟบลง

เครื่องดูดจอมกวนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร                                                                                  
                 ในเรื่องแรงดันอากาศ จะสังเกตว่าเมื่อเราดูดหลอดที่ไม่ได้ต่อกับถุงพลาสติก อากาศจะเข้าไปในหลอด แล้วเข้าปากเราจึงทำให้อากาศในขวดลดน้อยลง ทำให้อากาศภายนอกไหลเข้าไปในหลอดที่ต่อกับถุงพลาสติก และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ ถุงพองขึ้นนั่นเอง



การบูรณาการนักดำน้ำจากหลอดกาแฟกับการเรียนรู้แบบ STEM                                                                   
STEM คือ องค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัย องค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน                                                                      
Science (วิทยาศาสตร์) = แรงดันอากาศ
Technology  (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำเครื่องดูดจอมกวน
Engineering (วิศวะ) = รูปแบบเครื่องดูดจอมกวน
Mathematics (คณิตศาสตร์) = เรื่องการวัดและปริมาตร ความยาวของหลอด ขนาดของขวด 



            

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 6
วัน อังคาร ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน  และความรู้ที่ได้รับ
- ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ให้ฝึกคัดลายมือ  เพราะลายมือที่นักศึกษาเขียนยังไม่เหมาะกับการนำไปสอนเด็ก
- ดูของเล่นของรุ่นพี่ เพื่อเป็นแนวในการทำของเล่นของเราเอง เพื่อใช้ในการสอนเด็กด้วย




การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกสนาน และเครียดกับการคัดลายมือ
การจัดการเรียนการสอน
มีสื่อตัวอย่างให้ดู 

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน และฟังที่อาจารย์สอน                     
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน และดูสนใจกับสื่อที่อาจารย์เตรียมมา
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย เตรียมสื่อการสอนมาดีมาก





การบันทึกครั้งที่ 5
วัน อังคาร ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน  และความรู้ที่ได้รับ
- ก่อนเริ่มเรียนฝึกคัดลายมือ เพราะจะได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนในวันข้างหน้าและเป็นแบบอย่าที่ดี    แก่เด็ก
- ดู VDO เรื่อง อากาศมหัศจรรย์ 

สรุป VDO เรื่องอากาศมหัศจรรย์

- เพื่อนๆนำเสนอของเล่น
- ดูนิทรรศการของเอกการศึกษาปฐมวัย ของรุ่นพี่ปี5














การบันทึกครั้งที่ 4
วัน อังคาร ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
-คัดลายมือ
- เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย


อากาศคืออะไร
            อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้


ส่วนประกอบของอากาศ
           ส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และโอโซน อากาศมีอยู่รอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น  ไนโตรเจนเป็นก๊าซที่มีมากที่สุด ประมาณ 78% ก๊าซที่มีปริมาณรองลงมาคือ ก๊าซออกซิเจน ประมาณ 21% เป็นก๊าซที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และโอโซนมีปริมาณน้อยมาก


ความสำคัญของอากาศ
              อากาศและบรรยากาศมีความสำคัญ ดังนี้
-มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช 
-มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ
-ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความ-ร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
-ทำให้เกิดลมและฝน
-มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
-ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก
-ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน
-ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม โดยอนุภาคของสิ่งอื่นที่ปนอยู่กับก๊าซในบรรยากาศจะทำให้แสงหักเห เราจึง--มองเห็นท้องฟ้ามีแสงสีที่งดงามแทนที่จะเห็นเป็นสีดำมืด นอกจากนี้ก๊าซโอโซนซึ่งมีสีน้ำเงินยังช่วยให้มองเห็นท้องฟ้าเป็นสีครามหรือสีฟ้าสดใสอีกด้วย

คำศัพท์
Teaching plan = แผนการสอน
objective = วัตถุประสงค์
integration = บูรณาการ
Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
significant experience = ประสบการณ์สำคัญ


การนำมาประยุกต์ใช้
นำมาประยุกต์ในการเรียนการสอนเรื่องอากาศ
บรรยากาศในห้องเรียน
เรียนในห้องเรียนอากาศเย็นสบาย
การจัดการเรียนการสอน
ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์  และร่วมกิจกรรม

ประเมินตนเอง
***หมายเหตุ :: ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากติดธุระ   จึงศึกษาจากเพื่อน                   
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียน       
ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพ เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี 

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 ประจำปี 2559 

สถานที่  อิมแพคเมืองทองธานี 





ไปวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2559  งานจัดตั้งแต่วันที่ 18 - 28 สิงหาคม ที่อิมแพคเมืองทองธานี 





การบันทึกครั้งที่ 3
วัน อังคาร ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
- สรุปการเรียนรู้เด็กปฐมวัย   
พัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 – 5 ปี
                พฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกที่โรงเรียนมีพื้นฐานมาจากพฤติกรรมที่เขาเคยปฏิบัติมาก่อนแล้ว  ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจว่าเด็กมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลต่างกันเรื่องอายุ พื้นฐานทางครอบครัว และโอกาส          เด็กวัย 4 ขวบ  เด็กวัยนี้เริ่มทำอะไรได้เอง ไม่ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วย ดังนั้นเด็กวัยนี้ส่วนมากมีความเชื่อมั่น ชอบยืนยันความคิดของตนเองและชอบคุยโต รู้จักแสดงความห่วงใยผู้อื่น ความสนใจของเด็กวัยนี้มีกว้างขวางขึ้นและสามารถทำกิจกรรมได้นานขึ้น การใช้ภาษาเริ่มมีมากขึ้น รู้จักพูดคุยกับเพื่อน ๆ รู้จักใช้ภาษาเพื่อสนองความต้องการของตนเอง และใช้ภาษาเพื่อการแสดงออก ชอบถามและต้องการคำตอบจากผู้ใหญ่        เด็กวัยนี้สามารถเล่นกับเพื่อน ๆ ได้อย่างดี ต้องการของเล่นที่เป็นของใช้จริงในชีวิตประจำวัน และชอบเล่นบทบาทสมมติ ต้องการใช้เครื่อง เครื่องใช้ เช่น ค้อน เลื่อย กรรไกร แปรง ฯลฯ และอาจบอกได้ว่า เมื่อตนทำสิ่งนี้เสร็จแล้วจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามเด็กวัยนี้จะสนใจกระบวนการ (Process) ที่ตนทำมากกว่าผลที่จะได้รับ (Product) เด็กวัยนี้ชอบเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น โดยโอ้อวด แสดงอาการไม่พอใจ ก้าวร้าวหรือส่งเสียงดังเอ็ดตะโร กล้ามเนื้อเล็กทำงานประสานได้ดีขึ้น แต่กล้ามเนื้อใหญ่จะใช้ได้คล่องและดีกว่าการใช้กล้ามเนื้อเล็ก     เด็กวัยนี้จะเริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างเรื่องจริง กับเรื่องเพ้อฝัน แต่ยังคงสับสนอยู่ เห็นได้ง่าย ๆ จากการดูโทรทัศน์ เรื่องความเก่งกล้าของซุปเปอร์แมน นินจาเต่าหรือโงกุน เด็ก ๆ วัย 4 ขวบก็ยังยืนยันว่าคนเองสามารถมีกำลังและเก่งเหมือนตัวเอกของภาพยนต์สำหรับเด็ก    
              เด็กวัย 5 ขวบ  เด็กวัยนี้มีอิสระมากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้นและเข้าใจคำสั่งมากขึ้น แต่ก็ยังต้องการการยอมรับจากผู้อื่น ชอบเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันและเพศเดียวกัน ดังนั้นการเล่นจึงมีลักษณะให้ความร่วมมือกับเพื่อน ๆ ดี เล่นได้นาน มีลักษณะค่อนข้างซับซ้อนขึ้น การใช้กล้ามเนื้อมือและการใช้สายตาประสานกันได้ดีขึ้น การบงคบส่วนลำตัวดีสามารถขว้างและรับลูกบอลได้ กระโดดเชือก วิ่งและใช้ทักษะอื่นกับผู้อื่นได้ สามารถใช้กรรไกรตัดตามที่ต้องการได้ดีขึ้นและชอบคิดสร้างประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ชอบนิทาน ชอบโรงเรียน และสามารถจำตัวเลขและตัวอักษรตามลำดับได้ ถึงแม้ว่าเด็ก 5 ขวบจะมีแนวโน้มที่จะเชื่อฟังครู ให้ความร่วมมือ มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น แต่ชอบพูดอวดโอ้ถึงความสำเร็จของตนเอง พูดเกินความจริงจนเกิดทะเลาะกัน การใช้ภาษาของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างอิสระคือ สามารถเข้าใจและพูดได้ตามที่ตนรู้สึก สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องที่แต่งขึ้นโดยอธิบายให้เหตุผลได้ เด็ก 5 ขวบยังคงชอบเล่นบาทบาทสมมติ แต่ก็มีความสนใจสิ่งที่เป็นจริงในโลกนี้
             สรุปได้ว่า เด็กวัย 4 – 5 ปี มีลักษณะที่แตกต่างกันดังที่กล่าวแล้วแต่มิได้หมายความว่าเมื่อเด็กอายุมากขึ้นอีกหนึ่งขวบจะมีลักษณะพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่การพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่แตกต่างเช่นกัน

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
       ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม  และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ
1 การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
2. การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

          ไวกอสกี้  (Vygotsky, อ้างถึงใน Smith, 1997 : 25) กล่าวว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้  พัฒนาสติปัญญาและทัศนคติเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น  โดยที่การเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นภายในการทำงานของ  Zone  of  proximal  development   ซึ่งเป็นสภาวะที่เด็กต้องเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถคิดแก้ปัญหาโดยลำพัง  แต่ถ้าได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์มาก่อน  เด็กจะสามารถแก้ปัญหานั้นและจะเกิดการเรียนรู้ได้
บรูเนอร์ (Bruner, 1969 : 85) เชื่อว่า ครูสามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

ความหมายของการจัดประสบการณ์
            การจัดประสบการณ์  หมายถึง การจัดกรศึกษาให้เด็กก่อนวัยเรียน หรือเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาให้ครบทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา  มิได้มุ่งหวังให้อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น หรือเรียนรู้เนื้อหาวิชาต่าง ๆ แต่จะเป็นการปูพื้นฐานวิชาต่าง ๆ ให้ ในรูปกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเด็กจะเรียนรู้ได้ดีกว่า เช่นการสอนให้เด็กเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อดทน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่อาจทำได้ด้วยการสอนด้วยคำพูดแต่จะเกิดจากการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เป็นรูปธรรม

หลักการจัดประสบการณ์
            หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546  ได้กำหนดหลักการจัดประสบการณ์ไว้  ดังนี้
 1.  จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง            
 2.  เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่        3.  จัดให้เด็กได้รับพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต  

แนวการจัดประสบการณ์
            หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 ได้ให้แนวทางการจัดประสบการณ์ คือ
 1.  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ คือเหมาะกับอายุ วุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ            
2.  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้คือ เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง           
3.  จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการ คือ บูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้           
4.  จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความคิดโดยผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก            
5.  จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่น มีความสุขและเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ กัน           
6.  จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสือและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก           
7.  จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ           
8. จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ให้มีมุมเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนต่าง ๆ ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นร่วมกับผู้

คำศัพท์
1.energy=พลังงาน
2.nature=ธรรมชาติ
3.the process=กระบวนการ
4.unit=หน่วย

5.Earth=โลก

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการสอน
บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกสนาน
การจัดการเรียนการสอน
เป็นไปตามเนื้อหาและหลักการ

ประเมินตนเอง
***หมายเหตุ :: ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากติดธุระ   จึงศึกษาจากเพื่อน                   
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียน       
ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพ เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี