วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



การบันทึกครั้งที่ 15
วัน อังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  
        วันนี้นำเสนอแผนการสอนที่ได้จัดทำในอาทิตย์ก่อน

วันจันทร์  หน่วยผลไม้  


วันอังคาร หน่วยไข่  


วันพุธ หน่วยต้นไม้


วันพฤหัสบดี หน่วยปลา


คำศัพท์ 
egg = ไข่
issues  = ประเด็นปัญหา
test = การทดลอง
hypothesis =  สมมติฐาน
The air around me = อากาศรอบตัวฉัน

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการคิด วิเคราะห์
-การนำเสนอ
-การทำงานเป็นทีม

การนำมาประยุกต์ใช้
ในการสอนเด็กๆต้องได้สอนหน่วยพวกนี้อยู่แล้ว ที่เพื่อนสอนมาจะเป็นแนวทางในการสอนต่อไป หรือปรับใช้ในการสอนของตัวเองได้

บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศเย็นสบาย โต๊ะเก้าอี้และพื้นที่เพียงพอ บรรยากาศผ่อนคลาย
การจัดการเรียนการสอน
ได้มีการให้ฝึกคิดวิเคราะห์  และลงมือปฏิบัติจริง จากแผนที่ได้เขียนมา

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนสอนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจสอนค่ะ       
ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยให้คำปรึกษาในการสอนของเพื่อนๆและแนะนำการสอนที่ถูกต้อง






การบันทึกครั้งที่ 14
วัน อังคาร ที่ 7  พฤศจิกายน พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  
      อาจารย์ให้นำเสนอวีดีโอกลุ่มที่ได้นำไปแก้ไข จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มเลือกการสอนในแต่ละวัน ว่าแต่กลุ่มจะสอนนนนวันไหน มีกลุ่มอากาศและกลุ่มยานพาหนะที่สอนวันไหนก้ได้ เนื่องจากมีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ

VDO แก้ไขจากที่ได้รับคำติชม




 

คำศัพท์ 
The unit = หน่วยการเรียนรู้         
property  = คุณสมบัติ
oxygen  = ออกซิเจน   
integration = บูรณาการ  
spiritual Science = จิตวิทยาศาสตร์  

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการคิด วิเคราะห์
-การนำเสนอ

การนำมาประยุกต์ใช้
การทำสื่อที่ถูกต้อง  การเขียนแผน

บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศเย็นสบาย โต๊ะเก้าอี้และพื้นที่เพียงพอ
การจัดการเรียนการสอน
ได้มีการให้ฝึกคิดวิเคราะห์  และเทคโนโลยีในการสอน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและนำเสนอผลงาน    
ประเมินเพื่อน
มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  และเสนอผลงานออกมาได้ดี           
ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยให้คำปรึกษาในการเขียนแผนการสอน







VDO  รถพลังงานลม กลุ่มดิฉัน




การบันทึกครั้งที่ 13
วัน อังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน
     อาจารย์ให้เเต่ละกลุ่มนำเสนอ VDO จากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ5 คนซึ่งมีทั้งหมด 7กลุ่ม ให้แต่กลุ่มออกแบบโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้



เพื่อนๆ นำเสนอวีดีโอ
กลุ่มที่ 1  หลอดมหัศจรรย์



กลุ่มที่ 2 รถพลังงานลม กลุ่มของดิฉัน


กลุ่มที่ 3 คานดีด 

 
กลุ่มที่ 4 ขวดน้ำขนของ



คำศัพท์
1.plan=วางแผน
2.Step=ขั้นตอน
3.Graphic=กราฟฟิก
4.equipment=อุปกรณ์
5.present=นำเสนอ


ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการคิด วิเคราะห์
-การนำเสนอ

การนำมาประยุกต์ใช้
ในการทำคลิปวิดิโอของเล่นวิทยาศาสตร์ ควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.มีตัวหนังสือบอกขั้นตอนในการทำ เพื่อทำให้ภาษาชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2.มีชื่อคณะผู้จัดทำ มหาวิทยาลัย คณะ สาขาที่เรียน
3.ถ่ายให้เห็นผู้ประดิษฐ์
4.มีสรุปท้ายขั้นตอน มีตัวหนังสือขั้นตอนการทำทั้งหมดโดยไม่มีรูปภาพ
5.มีการทดลองการเล่น ซึ่งเป็นกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์
6.แต่งกายสุภาพ หรือชุดนักศึกษาเพื่อบ่งบอกถึงสถานศึกษา
7.ในตอนท้ายของวิดิโอ ควรมีการบอกหน้าที่ในการทำ ว่าใครทำหน้าที่ใดบ้าง เช่น การตัดต่อ อัดเสียง ถ่ายภาพ เป็นต้น

บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศเย็นสบาย โต๊ะเก้าอี้และพื้นที่เพียงพอ
การจัดการเรียนการสอน
ได้มีการให้ฝึกคิดวิเคราะห์  และเทคโนโลยีในการสอน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและนำเสนอผลงาน    
ประเมินเพื่อน
มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  และเสนอผลงานออกมาได้ดี           
ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยให้คำแนะนำติชมกลุ่มที่ยังทำมาได้ไม่ถูกต้อง 





Mind Map หน่วยอากาศ

Mind Map งานเดี่ยว



Mind Map งานกลุ่ม



การบันทึกครั้งที่ 12
วัน อังคาร ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน

     อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำ Mind Map ที่นำไปแก้ไขจากอาทิตย์ที่แล้วมาส่ง แล้วอาจารย์ก็อธิบาย ให้คำแนะนำเพิ่มเติมแต่ละหน่วย และให้นักศึกษาแต่ละคนทำ Mind Map หน่วยที่ทำตามกลุ่มของตัวเองแล้วนำมาส่งอาจารย์ โดยเขียนให้ละเอียดกว่าเดิม  และได้ให้อยู่ในสาระวิทยาศาสตร์ด้วย


สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

กลุ่มที่ 1 หน่วยต้นไม้



กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้



กลุ่มที่ 3 หน่วยปลา



กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ



กลุ่มที่ 5 หน่วยไข่



กลุ่มที่ 6 หน่วยอากาศรอบตัวฉัน



กลุ่มที่ 7 หน่วยดอกไม้

คำศัพท์
1.Water flow = การไหลของน้ำ
2.water level=ระดับน้ำ
3.change=การเปลี่ยนแปลง
4.seepage=การซึม
5.the fountain=น้ำพุ

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการคิด วิเคราะห์
-ทักษะการบูรณาการ การประยุกต์
-การนำเสนอ
-การเชื่อมโยง

การนำมาประยุกต์ใช้
        หลักการเขียนMind mapนั้นพยายามทำออกมาให้เป็นภาพให้จำได้ง่าย สีต่างๆสามารถปรับปรุงเส้นให้สวยงาม ไม่ควรเขียนย้อนกลับ เขียนตัวหนังสือหัวกลมตัวเหลี่ยม เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเด็กๆ
บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศเย็นสบาย โต๊ะเก้าอี้และพื้นที่เพียงพอ
การจัดการเรียนการสอน
ได้มีการให้ฝึกคิดวิเคราะห์  วางแผน วิธี Mind Map ที่ดี

ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม       
ประเมินเพื่อน
มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม             
ประเมินอาจารย์
 เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนสนุก อธิบายเข้าใจง่ายและอาจารย์เตรียมสื่อและอุปกรณ์ในการสอนมาดค่ะ



เรือใบไม่ล้ม
ของเล่นวิทยาศาสตร์
งานกลุ่ม 3 คน


1.นางสาวนันทนาภรณ์  คำอ่อน  
2.นางสาวนิตยา   นนทคำจันทร์
3.นางสาวสาวิตรี  จันทร์สิงห์





อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ

1.ขวดน้ำ
2.กล่องนม
3.เทปใส
4.ฟิวเจอร์บอร์ด
5.ปืนกาว
6.กรรไกร
7.คัตเตอร์

ขั้นตอนการทำ
       1.นำเทปใสพันขวดน้ำกับกล่องนมติดกัน โดยเอากล่อมนมไว้ข้างล่าง ขวดน้ำไว้ข้างบน 
       2.ตัดฟิวเจอร์บอร์ดเป็นตัวเรือ ใบพัด ตามแบบที่ต้องการ 
       3.ใช้ปืนกาวติดตัวเรือมาติดกับขวดน้ำ และใบพัด ตกแต่งเรือตามต้องการ

วิธีเล่น
         นำเรือใบไปลอยน้ำ แล้วใช้มือปัดเรือปัด เรือใบก็จะไม่ล่ม สามารถเล่นคนเดียวและเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

เรือใบไม่ล่มเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
         จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)  หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณสมดุลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง 
  จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน
        การเคลื่อนที่ของเรือใบไม่ล่ม หางเสือจะทำหน้าที่ควบคุมทิศทางไปตามลม ส่วนกกล่องนมเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงให้อยู่ใต้น้ำ บริเวณผิวน้ำไม่มีจุดศูนย์ถ่วงเรือใบจึงไม่ล่ม

การบูรณาการรถพลังงานลมกับการเรียนรู้แบบ STEM
   STEM คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
       Science (วิทยาศาสตร์) = การเคลื่อนที่ของเรือใบ
       Technology (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำเรือใบไม่ล่ม                   
       Engineering (วิศวะ) = รูปแบบเรือใบไม่ล่ม                                              
       Mathematics (คณิตศาสตร์) = จำนวน ขนาด รูปทรง 


การบันทึกครั้งที่ 11
วัน อังคาร ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน

         การเรียนการสอนในวันนี้ทบทวนเกี่ยวกับองค์ประกอบการคิด จากนั้นอาจารย์ก็ขอดูของเล่นวิทยาศาสตร์งานกลุ่มที่แต่ละกลุ่มนำเสนอไปแล้วไปปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์และพึ่งมาส่งในวันนี้ จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เมื่อแบ่งเสร็จให้สมาชิกแต่ละกลุ่มไปเอากระดาษฟลิปชาร์ทคิดหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีการทดลองและเป็นเรื่องง่ายๆ


 หน่วยการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มจัดทำ  มีดังนี้

กลุ่มที่ 1  ดอกไม้

กลุ่มที่ 2  อากากาศ

กลุ่มที่ 3  ยานพาหนะ

กลุ่มที่ 4  ต้นไม้

กลุ่มที่ 5  ผลไม้

กลุ่มที่ 6  ปลา

กลุ่มที่ 7  ไข่



คำศัพท์น่ารู้
  Teaching = การสอน
  Presentation = การนำเสนอ
  Principles = หลักการ
  Rolling  = การกลิ้ง 
  Tilt = การเอียง

ทักษะที่ได้รับ
การทำงานเป็นกลุ่ม การคิด  การนำเสนอ การตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติ
การนำมาประยุกต์ใช้
     การเลือกหน่วยการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย เลือกสิ่งรอบตัว เลือกเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อการสอนแบบบูรณาการ คือ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลายๆวิชาหรือหน่วยที่เลือก ออกแบบให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและวิธีการเรียนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศเย็นสบาย โต๊ะเก้าอี้และพื้นที่เพียงพอ
การจัดการเรียนการสอน
ได้มีการให้ฝึกคิดวิเคราะห์  วางแผน

ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม       
ประเมินเพื่อน
มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม             
ประเมินอาจารย์
 เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนสนุก อธิบายเข้าใจง่ายและอาจารย์เตรียมสื่อและอุปกรณ์ในการสอนมาดค่ะ